จิตวิทยาการเรียน การสอน
จิตวิทยาคืออะไร?
คำว่า “จิตวิทยา”
เป็นคำที่เข้าใจได้ยากและถูกเข้าใจผิดโดยคนส่วนใหญ่อยู่เสมอ
สมัยที่ผมเอนทรานซ์และเลือกเรียนจิตวิทยา
ผมคิดว่าจิตวิทยาน่าจะเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเพื่ออ่านใจคน หรือไม่ก็เป็นการฝึกฝนพลังอำนาจทางจิต
แต่พอได้เข้ามาเรียนแล้ว
ผมพบว่าความเข้าใจของผมค่อนข้างจะห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่พอสมควร
และผมไม่ได้เป็นคนเดียวที่มีความเข้าใจผิดเช่นนี้
จากการได้พูดคุยกับผู้คนจำนวนมาก
ผมพบว่าพวกเขาเองก็มีทัศนะต่อจิตวิทยาไม่ต่างอะไรกับผม
เมื่อรู้ว่าผมร่ำเรียนจิตวิทยามา บ้างก็บอกว่าให้ผมทายว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่
บ้างก็บอกว่าช่วยสะกดจิตให้ดูที ซึ่งผมก็ต้องอธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่า “ผมไม่ใช่หมอดูนะครับ”
คำว่า “จิตวิทยา”
(Psychology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกจากคำว่า “Psyche” ที่แปลว่า “จิตใจ หรือจิตวิญญาณ” กับคำว่า “logos” ที่แปลว่า “การศึกษา”
ดังนั้นความหมายของจิตวิทยาในยุคแรกเริ่มก็คือ “ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ”
ความหมายของจิตวิทยา
คำว่า “จิตวิทยา” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Psychology” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ คือคำว่า Psyche กับ Logos
คำว่า Psyche หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับคำว่า Logos หมายถึงวิชาการและการศึกษา (Study)
ดังนั้น เมื่อทั้ง ๒ คำรวมกันจึงเป็นคำศัพท์ว่า Psychology มีความหมายว่าด้วยวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ
สมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาจิตวิทยา
นักปราชญ์ในสมัยนั้นจึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบว่าวิญญาณ
มีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างไรต่อการกระทำของมนุษย์ เป็นการศึกษาที่ไม่มีตัวตน
ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้
ประมาณปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา
นักจิตวิทยายุคใหม่จึงเปลียนแนวทางศึกษาพฤติกรรม (Behaviors) มนุษย์และสัตว์เฉพาะ และได้นำระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้น
ในที่สุด จิตวิทยา ได้รับการยอมรับให้เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์วิชาหนึ่ง (Applied
Science) ในยุคนี้มีนักวิชาการทางจิตวิทยาได้ให้ความหมายคำจำกัดความของจิตวิทยาไว้หลายท่านด้วยกันแต่ขอยกมาพอสังเขปดังนี้
วิลเลียม เจมส์ (William James; 1890)[๓] ได้ให้คำจำความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการของมนุษย์”
นอร์แมน แอล. มันน์ (Norman L. Munn; 1969) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยา
เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมโดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์”
จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson; 1913) เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับจิตวิทยาไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม”
มอร์แกน (Morgan; 1971) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์”
ฟิลแมน (Feldman; 1992) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต
ด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์”
วาเดและทาฟ์ริส (Wade & Tavris; 1998) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต
โดยศึกษาสิ่งเหล่านี้ได้รับอิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมภายนอก”
เติมศักดิ์ คทวณิช (๒๕๔๖) ได้สรุปความหมายของจิตวิทยาไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์”
จากคำจำกัดความที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า “จิตวิทยา” เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต (Behavior and Mental Processes) ของมนุษย์
โดยศึกษาว่าพฤติกรรมเหล่านั้นได้รับอิทธิพลอย่างไร จากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจ
และสิ่งแวดล้อมภายนอก
สรุปได้ว่า จิตวิทยา คือ
การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจ สามารถอธิบาย สามารถทำนาย
กำหนดควบคุมพฤติกรรมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความเป็นมาของจิตวิทยา (History of Psychology)
วิชาจิตวิทยามีการศึกษาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว
มีนักปรัชญาคนสำคัญ คือ อริสโตเติล (Aristotle; 322-384 ก่อนคริสต์กาล) และเพลโต (Plato; 347- 427 ก่อนคริสต์กาล) ได้ศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์
ส่วนใหญ่เเชื่อตรงกันว่ามนุษย์มีส่วนประกอบสำคัญสองส่วน คือ ร่างกาย (body) กับวิญญาณ (soul) วิญญาณจะมีอิทธิพลเหนือร่างกาย
เพราะจะคอยควบคุมให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ
ดังนั้น การที่จะเข้าใจมนุษย์ได้จึงต้องอธิบายวิญญาณให้ชัดเจนก่อน
แต่การอธิบายวิญญาณในยุคกรีกโบราณนั้น
มักนิยมหาคำตอบเกี่ยวกับวิญญาณโดยใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลของตนเองผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาในขณะนั้น
ทำให้ได้คำตอบไม่แน่นอนและไม่ชัดเจน นักจิตวิทยาในยุคต่อมาจึงเรียกวิธีนี้ว่าอาร์มแชร์ (Armchair
method) เพราะเป็นวิธีการหาคำตอบแบบนั่งอยู่กับที่
ไม่มีการค้าคว้า วิจัย ทดลอง หรือพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ให้เห็นจริง
เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญ
มีผู้พยายามศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับวิญญาณแต่ก็ยังไม่ได้รับความรู้เพิ่มเติมแต่อย่างได
จึงทำให้นักจิตวิทยาหันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับจิต (Mind) แทน
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา (Aims of Psychology)
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน
โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
๑. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก
หรือพฤติกรรมภายใน ที่เรี่ยกว่า กระบวนการทางจิต อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น
๒. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง
ๆ โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ
เพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
๓. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม หมายถึงการคาดคะแนผลที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง
ๆ ได้อย่างถูกต้อง
๔. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป
และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย
๕. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของจิตวิทยา
๑. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
๒. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
๓. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
๔. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
๕. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
๖. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
๗. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
๘. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง
๙. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต
รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
๑๐. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว
มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
๑๑. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม
(Social
Perception) ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
บทสรุปของจิตวิทยา
จิตวิทยา คือ
การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องกระบวนการของจิต และพฤติกรรม
ของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกของมนุษย์ที่เรี่ยกว่ากระบวนการทางจิต
อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น
สามารถอธิบายพฤติกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง
ๆ โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ซึ่งจะส่งผลให้สามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงปรารถนาให้ลดลงหรือหมดไป
และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย
และเพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนาในโอกาสต่อไปจะเขียนบทความทางด้านวิชาพุทธจิตวิทยา
เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าจิตวิทยาในพระพุทธศาสนามีความเป็นเลิศอย่างไร อย่างเช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า “การศึกษาเรื่องจิตในด้านต่าง
ๆ เพื่อการดับทุกข์ การศึกษานั้นเรียกว่า
การศึกษาจิตวิทยาในพระพุทธศาสนา”